ทฤษฎี Reichert-Gaupp ของ วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

โดยอาศัยไอเดียของนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส Étienne Geoffroy Saint-Hilaire (พ.ศ. 2361) และของงานศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งของนักกายวิภาคชาวเยอรมัน Johann Friedrich Meckel (2363), ของนักสรีรวิทยาชาวเยอรมัน Carl Gustav Carus (2361), ของนักคัพภวิทยาชาวเยอรมัน Martin Rathke (2368), และของนักวิทยาศาสตร์ชาวเอสโทเนีย (2371)[6]นักคัพภวิทยาชาวเยอรมัน Karl Bogislaus Reichert จึงได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างขากรรไกรของสัตว์เลื้อยคลานกับกระดูกหูชั้นกลางของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในปี 2380 (ก่อนการพิมพ์หนังสือ On the Origin of Species ของดาร์วิน) ซึ่งต่อมาพัฒนาโดยนักกายวิภาคชาวเยอรมัน Ernst Gaupp[7]จนกลายเป็นทฤษฎีที่เรียกว่า Reichert-Gaupp Theory[8][9]

ในวิถีพัฒนาการของเอ็มบริโอ กระดูกทั่งและค้อนจะเกิดจาก first pharyngeal arch เหมือนกับ mandible และ maxilla และสัมพันธ์กับประสาทไทรเจมินัลสาขาเดียวกันด้วย[10]

การค้นพบว่า กระดูกทั่งและค้อนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจริง ๆ มีกำเนิดเดียวกับส่วนประกอบข้อต่อขากรรไกรของ "สัตว์เลื้อยคลาน" ... จัดเป็นหลักชัยอันหนึ่งในประวัติศาสตร์ของชีววิทยาเชิงเปรียบเทียบ[11]

มันเป็นชัยชนะอันหนึ่งของโซ่งานวิจัยยาวเหยียดในสัตว์เลื้อยคลาน Theromorph ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เริ่มโดย Owen (2388) สืบต่อโดย Seeley, Broom, และ Watson ที่ได้แสดงขั้นตอนในระหว่าง ๆ ที่ความเปลี่ยนแปลงอาจเกิดจากกระดูก quadrate ข้างในไปเป็นข้อต่อ squamosal ข้างนอก ...[12]

แต่ว่า การเปลี่ยนแปลงจากกระดูกขากรรไกรของ "สัตว์เลื้อยคลาน" ไปเป็นกระดูกหูชั้นกลางของ "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม" ก็ไม่มีหลักฐานซากดึกดำบรรพ์เชื่อมจนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1950[13]ที่ได้พบรายละเอียดในซากดึกดำบรรพ์ที่ปัจจุบันมีชื่อเสียงคือ Morganucodon[14]

ยังมีงานวิจัยทางพันธุกรรมต่อมาเกี่ยวกับพัฒนาการของกระดูกหูจาก embryonic arch อีกด้วย[15]และงานที่เชื่อมเรื่องนี้กับประวัติวิวัฒนาการ[16]"ยีน Bapx1 หรือ Nkx3.2 ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีกำเนิดเดียวกันกับยีน Bagpipe ของแมลงหวี่สกุล Drosophilaเป็นสมาชิกในชั้น NK2 ของยีน homeobox..."[17]งานวิจัยแสดงว่ายีนนี้เป็นเหตุในการเปลี่ยนกระดูกขากรรไกรที่พบในสัตว์อื่น ๆ ไปเป็นกระดูกหูในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม[18][19]ยีนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้ง Dlx, Prx, และ Wnt[20]

หูตัวอย่างของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เสียงจะทำให้แก้วหู (Tympanic Membrane) สั่น แล้วกระดูกหู 3 ท่อน คือ กระดูกทั่ง (Malleus) กระดูกค้อน (Incus) และกระดูกโกลน (Stapes) ก็จะถ่ายทอดแรงสั่นเข้าไปยังหูชั้นใน (คือบริเวณที่มีป้ายเป็น Labyrinth) ซึ่งแปลแรงสั่นไปเป็นสัญญาณประสาทแล้วส่งไปยังสมอง

ใกล้เคียง

วิวัฒนาการของมนุษย์ วิวัฒนาการ วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วิวัฒนาการของตา วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต วิวัฒนาการของคอเคลีย วิวัฒนาการในมุมมองของศาสนาอิสลาม วิวัฒน์ ศัลยกำธร วิวัฒนาการของการเห็นสี วิวัฒน์ ผสมทรัพย์

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม http://evolvingsenses.blogspot.com/2009/11/evoluti... http://blogs.discovermagazine.com/loom/2008/10/15/... http://www.palaeos.com/Vertebrates/Units/430Mammal... http://www.palaeos.com/Vertebrates/Units/Unit390/2... http://www.palaeos.com/Vertebrates/Units/Unit420/4... http://www.palaeos.com/Vertebrates/Units/Unit420/4... http://www.sciam.com/article.cfm?id=fossil-reveals... http://scienceblogs.com/pharyngula/2007/03/16/yano... http://www.springerlink.com/content/8h1n0222206808... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/joa.123...